ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก ควรรู้อะไรบ้าง
อัพเดทล่าสุด: 6 ม.ค. 2025
33 ผู้เข้าชม
การบริหารจัดการภาษีให้ดีถือเป็นหนึ่งในการบริหารจัดการเงินในชีวิตของเราให้มีกินมีใช้และเก็บออมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ในขณะที่เรามีรายได้มั่นคงถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี เราทุกคนก็อยากซื้อบ้านในฝันด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งการซื้อบ้านหลังแรกก็มีส่วนช่วยให้เราบริหารจัดการภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะเราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สำหรับการกู้ซื้อบ้านหลังแรก ดังนั้น เพื่อให้เราสามารถวางแผนภาษีและจัดการค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนตัดสินใจกู้ซื้อบ้านและใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกนั้น จึงมีสิ่งสำคัญที่เราควรรู้และเข้าใจไว้ก่อน ดังต่อไปนี้
__________________________________________
1. กู้ซื้อบ้านหลังแรกลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
ในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกนั้น จะเป็นการนำเอาเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านของเรา ไม่รวมเงินต้น มาลดหย่อนภาษีตามจำนวนเงินที่จ่ายไปเลย แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องเสียดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านเดือนละ 5,000 บาท ในหนึ่งปีจะเท่ากับเราเสียดอกเบี้ยทั้งสิ้น 60,000 บาท ก็จะสามารถนำยอด 60,000 บาท ไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เลยเต็ม ๆ แต่หากเรากู้ซื้อบ้าน และต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท ในหนึ่งปีจะเสียดอกเบี้ยทั้งหมด 144,000 บาท เราก็จะไม่ได้สามารถนำยอดเต็มนี้ไปลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่จะนำไปใช้ลดหย่อนได้เพียงแค่ 100,000 บาทเท่านั้น ตามเกณฑ์เงื่อนไขสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้
__________________________________________
2. กู้ร่วมซื้อบ้านก็ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้
หลาย ๆ คนเวลากู้ซื้อบ้าน ก็มักไม่ได้กู้คนเดียว แต่เลือกใช้วิธีการกู้ร่วมซื้อบ้านเพื่อให้มีโอกาสอนุมัติผ่านได้ง่ายขึ้นและได้วงเงินสูงขึ้น ซึ่งในกรณีของการกู้ร่วมซื้อบ้านนั้น มักมีคำถามว่าจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้หรือไม่ คำตอบก็คือสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้เช่นกัน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้กู้และผู้กู้ร่วมเลย แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมาเล็กน้อย คือ ทั้ง 2 คนที่ร่วมกันกู้ซื้อบ้านจะต้องเฉลี่ยค่าลดหย่อนเท่า ๆ กัน และรวมกันต้องไม่เกินยอด 100,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น พี่น้องนามสกุลเดียวกัน กู้ร่วมซื้อบ้าน โดยมีดอกเบี้ยบ้านที่ต้องจ่ายตลอดทั้งปีอยู่ที่ 144,000 บาท ก็จะต้องแบ่งกันใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้คนละ 50,000 บาท รวมกันจึงไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น
__________________________________________
3. มีบ้านหลายหลังก็ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้
ในความเป็นจริงแล้วสิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกเป็นแนวคิดที่ช่วยให้คนที่อยากซื้อบ้านตัดสินใจซื้อบ้านได้ง่ายมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางภาษีเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ในหลักการแล้วถึงเราจะไม่ได้มีบ้านหลังแรกหลังเดียว แต่มีบ้านที่กู้ซื้ออยู่หลายหลังก็สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านได้เช่นกัน แต่ก็จะไม่เกินเพดานสูงสุดที่ 100,000 บาทอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่น นายแดงกู้ซื้อบ้านอยู่ 2 หลัง โดยหลังแรกเสียดอกเบี้ยบ้านต่อปีอยู่ที่ 60,000 บาท หลังที่ 2 เสียอยู่ที่ 80,000 บาท รวมแล้วนายแดงจะเสียดอกเบี้ยบ้านปีละ 140,000 บาท ก็จะสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้แค่ 100,000 บาท เท่านั้น
__________________________________________
4. ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านต้องมาจากแหล่งที่กฎหมายกำหนด
ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น กรมสรรพากรกำหนดให้ว่าจะต้องเป็นดอกเบี้ยที่กู้ยืมมาาจากผู้ประกอบกิจการภายในประเทศ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ธนาคาร บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างที่มีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เป็นต้น ดังนั้น ในการกู้ซื้อบ้านเพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจึงควรตรวจสอบแหล่งที่มาขอเงินกู้ยืมให้รอบคอบด้วยว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
__________________________________________
เมื่อตัดสินใจกู้ซื้อบ้านไปแล้ว ดอกเบี้ยบ้านที่รวมอยู่กับงวดผ่อนทุกเดือนนั้นเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถใช้สิทธิ์ที่มีในการลดหย่อนภาษีเพื่อบริหารจัดการเงินของตัวเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกให้เข้าใจ จะช่วยให้เราบริหารจัดการเงินและภาษีส่วนตัวได้ดีขึ้น ยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง และไม่เสียโอกาสในการบริหารจัดการเงินและค่าใช้จ่ายของตัวเองให้คุ้มค่ามากที่สุด
__________________________________________
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก REIC
__________________________________________
1. กู้ซื้อบ้านหลังแรกลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
ในการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกนั้น จะเป็นการนำเอาเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านของเรา ไม่รวมเงินต้น มาลดหย่อนภาษีตามจำนวนเงินที่จ่ายไปเลย แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องเสียดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านเดือนละ 5,000 บาท ในหนึ่งปีจะเท่ากับเราเสียดอกเบี้ยทั้งสิ้น 60,000 บาท ก็จะสามารถนำยอด 60,000 บาท ไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้เลยเต็ม ๆ แต่หากเรากู้ซื้อบ้าน และต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท ในหนึ่งปีจะเสียดอกเบี้ยทั้งหมด 144,000 บาท เราก็จะไม่ได้สามารถนำยอดเต็มนี้ไปลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่จะนำไปใช้ลดหย่อนได้เพียงแค่ 100,000 บาทเท่านั้น ตามเกณฑ์เงื่อนไขสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้
__________________________________________
2. กู้ร่วมซื้อบ้านก็ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้
หลาย ๆ คนเวลากู้ซื้อบ้าน ก็มักไม่ได้กู้คนเดียว แต่เลือกใช้วิธีการกู้ร่วมซื้อบ้านเพื่อให้มีโอกาสอนุมัติผ่านได้ง่ายขึ้นและได้วงเงินสูงขึ้น ซึ่งในกรณีของการกู้ร่วมซื้อบ้านนั้น มักมีคำถามว่าจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้หรือไม่ คำตอบก็คือสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้เช่นกัน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผู้กู้และผู้กู้ร่วมเลย แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมาเล็กน้อย คือ ทั้ง 2 คนที่ร่วมกันกู้ซื้อบ้านจะต้องเฉลี่ยค่าลดหย่อนเท่า ๆ กัน และรวมกันต้องไม่เกินยอด 100,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น พี่น้องนามสกุลเดียวกัน กู้ร่วมซื้อบ้าน โดยมีดอกเบี้ยบ้านที่ต้องจ่ายตลอดทั้งปีอยู่ที่ 144,000 บาท ก็จะต้องแบ่งกันใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้คนละ 50,000 บาท รวมกันจึงไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น
__________________________________________
3. มีบ้านหลายหลังก็ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้
ในความเป็นจริงแล้วสิทธิ์ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกเป็นแนวคิดที่ช่วยให้คนที่อยากซื้อบ้านตัดสินใจซื้อบ้านได้ง่ายมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางภาษีเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ในหลักการแล้วถึงเราจะไม่ได้มีบ้านหลังแรกหลังเดียว แต่มีบ้านที่กู้ซื้ออยู่หลายหลังก็สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านได้เช่นกัน แต่ก็จะไม่เกินเพดานสูงสุดที่ 100,000 บาทอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่น นายแดงกู้ซื้อบ้านอยู่ 2 หลัง โดยหลังแรกเสียดอกเบี้ยบ้านต่อปีอยู่ที่ 60,000 บาท หลังที่ 2 เสียอยู่ที่ 80,000 บาท รวมแล้วนายแดงจะเสียดอกเบี้ยบ้านปีละ 140,000 บาท ก็จะสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้แค่ 100,000 บาท เท่านั้น
__________________________________________
4. ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านต้องมาจากแหล่งที่กฎหมายกำหนด
ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น กรมสรรพากรกำหนดให้ว่าจะต้องเป็นดอกเบี้ยที่กู้ยืมมาาจากผู้ประกอบกิจการภายในประเทศ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ธนาคาร บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างที่มีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เป็นต้น ดังนั้น ในการกู้ซื้อบ้านเพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจึงควรตรวจสอบแหล่งที่มาขอเงินกู้ยืมให้รอบคอบด้วยว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
__________________________________________
เมื่อตัดสินใจกู้ซื้อบ้านไปแล้ว ดอกเบี้ยบ้านที่รวมอยู่กับงวดผ่อนทุกเดือนนั้นเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถใช้สิทธิ์ที่มีในการลดหย่อนภาษีเพื่อบริหารจัดการเงินของตัวเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้ การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกให้เข้าใจ จะช่วยให้เราบริหารจัดการเงินและภาษีส่วนตัวได้ดีขึ้น ยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง และไม่เสียโอกาสในการบริหารจัดการเงินและค่าใช้จ่ายของตัวเองให้คุ้มค่ามากที่สุด
__________________________________________
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก REIC
บทความที่เกี่ยวข้อง
14 ม.ค. 2025
13 ม.ค. 2025
12 ม.ค. 2025