กฏหมายที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ หากต้องการขายของหน้าบ้าน
อัพเดทล่าสุด: 8 ม.ค. 2025
25 ผู้เข้าชม
มีปัญหาข้อหนึ่งที่มีผู้อ่านเคยสอบถามกันเข้ามา คือการทำร้านขายของหน้าบ้านมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาพูดคุยในรายละเอียดกัน
___________________________________________
ทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายของชำ ทำได้ไหม
.
การทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายของชำ หรือสินค้าทั่ว ๆ ไปนั้น ไม่ได้มีกฎหมายควบคุมตัวร้านเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่การจะขายสินค้าแต่ละประเภทก็จะต้องไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทนั้น ๆ
โดยส่วนมากสินค้าที่ร้านชำขายกันและมีกฎหมายเฉพาะควบคุม ได้แก่ บุหรี่และสุราที่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายที่ขอจากกรมสรรพสามิต และการขายบุหรี่ต้องไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ส่วนสุราก็มีเวลาและวันที่ห้ามขาย
การขายยาก็ขายได้แค่ยาสามัญประจำบ้าน ยาอื่น ๆ ขายไม่ได้ สินค้าประเภทที่ต้องได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา หรือ อย. เช่น อาหารสำเร็จรูป, เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ก็ต้องได้รับ อย. อย่างถูกต้อง ถ้าไม่มี อย. จะนำมาจำหน่ายไม่ได้
สินค้าที่ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เช่น ปลั๊กพ่วง, เครื่องใช้ไฟฟ้า แบบนี้ก็ต้องได้รับ มอก. หากจะขายไพ่ก็ต้องได้รับใบอนุญาตขายจากกรมสรรพสามิต หรือเครื่องชั่งต่าง ๆ ก็ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีประเด็นเรื่องภาษีด้วย คือ ถ้าหากมีรายได้ปีละ 1,800,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะในนามบุคคลธรรมดา หรือในนามนิติบุคคล ก็จะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าหรือบริการที่จำหน่ายออกจากร้านก็จะต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรทุกเดือนด้วย
___________________________________________
ทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายอาหาร ทำได้ไหม
.
สำหรับกรณีการทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายอาหารจะแตกต่างไปจากการขายของชำตรงที่การร้านขายอาหารจะมีกฎหมายที่ควบคุมตัวร้านโดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ที่กำหนดให้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจร้านอาหารต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหาร และสะสมอาหาร ซึ่งต้องขอจากหน่วยงานท้องถิ่น เช่น หากเป็นเขตกรุงเทพมหานครก็ต้องขอกับสำนักงานเขต หรือหากเป็นต่างจังหวัดก็ขอกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่นในพื้นที่
หากในร้านมีการขายสุราให้นั่งดื่มหรือจำหน่ายยาสูบในร้านก็ต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราและยาสูบ และสำหรับร้านที่มีการตั้งหน้าร้านบนทางสาธารณะ ก็ต้องขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องขอต่อหน่วยงานท้องถิ่นเช่นกัน
ส่วนเรื่องภาษี หากการขายอาหารมีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะเดียวกันกับการขายของชำด้วย
___________________________________________
ทำร้านขายของหน้าบ้าน ในหมู่บ้านจัดสรรกับบ้านนอกโครงการจัดสรรต่างกันไหม
.
การขายของชำหรือการขายอาหารในโครงการจัดสรรจะมีข้อแตกต่างกับนอกโครงการบ้างตรงที่ต้องพิจารณาระเบียบหรือข้อบังคับของหมู่บ้านจัดสรรนั้นด้วยว่าอนุญาตให้ทำได้หรือไม่ หากไม่อนุญาตแล้วเราฝืนจะไปทำ ก็อาจถูกมาตรการบังคับจากหมู่บ้านจัดสรร (ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือไม่ก็ตาม)
ยกตัวอย่างเช่น การห้ามลูกค้าเข้ามาในโครงการ, ห้ามลูกค้าจอดรถ, การบังคับล้อ, การออกข้อบังคับเก็บค่าปรับ หรือการไปแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอำนาจควบคุมเข้ามาตรวจสอบใบอนุญาต และสั่งห้ามประกอบกิจการ เป็นต้น
___________________________________________
กรณีทำร้านขายของหน้าบ้านแล้วกระทบสิทธิบ้านข้างเคียง
.
เป็นธรรมดาที่การทำร้านขายของหน้าบ้าน ไม่ว่าจะของชำหรือร้านอาหารอาจจะต้องส่งผลกระทบต่อบ้านข้างเคียง อาจจะเป็นเรื่องกลิ่น, เสียง, ควัน, เศษมูลฝอย หรือน้ำเสีย แม้กระทั่งการที่ลูกค้าจำนวนมากมารบกวนบริเวณหน้าบ้านข้างเคียง หรือการจอดรถ เรื่องนี้ต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
สำหรับเรื่องที่มีกฎหมายที่มีโทษทางอาญาห้าม ได้แก่ เรื่องกลิ่น, เสียง, ควัน, เศษมูลฝอย หรือน้ำเสีย ที่มีพระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ และพระราชบัญญัติความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ กำหนดมาตรการไว้แล้วว่าหากสร้างมลพิษเหล่านี้
หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ สำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นจะมีอำนาจสั่งให้แก้ไข หรือหยุดการกระทำ และมีอำนาจดำเนินคดีอาญา ที่มีโทษปรับ หรือโทษจำคุก
ในบางกรณี บ้านข้างเคียงที่ได้รับความเดือดร้อนจึงสามารถไปดำเนินการร้องเรียนต่อหน่วยงานดังกล่าวได้ และถึงแม้ร้านนั้น ๆ จะได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องทุกอย่าง แต่หากในภายหลังสร้างมลพิษรบกวนไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้
ส่วนการจอดรถกีดขวางในที่ห้ามจอด ก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบกฯ ซึ่งบ้านข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนต่อตำรวจท้องที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้
ส่วนเรื่องกรณีที่ไม่มีกฎหมายที่มีโทษอาญาบังคับ เช่น การที่มีคนผ่านไปมาหน้าบ้านข้างเคียงจำนวนมาก หรือมีไรเดอร์ หรือผู้ขนส่งมาติดต่อรับของไป ๆ มา ๆ รบกวนทั้งวัน ถึงจะอยู่บนพื้นที่สาธารณะก็ตาม หรือการที่มีรถเข้าออกบริเวณใกล้เคียงทั้งวัน ถึงจะไม่ได้จอดกีดขวางทางสาธารณะก็ตาม
กรณีแบบนี้หากสิ่งรบกวนต่อบ้านข้างเคียงมากจนถึงระดับที่รบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติสุข บ้านข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบก็สามารถฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อร้านขายของนั้น ๆ ได้ กรณีแบบนี้จะไม่มีโทษอาญา เพราะคำพิพากษาของศาลในคดีแพ่งเพียงแค่จะบังคับให้ฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
___________________________________________
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก DD Property
___________________________________________
ทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายของชำ ทำได้ไหม
.
การทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายของชำ หรือสินค้าทั่ว ๆ ไปนั้น ไม่ได้มีกฎหมายควบคุมตัวร้านเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่การจะขายสินค้าแต่ละประเภทก็จะต้องไปดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทนั้น ๆ
โดยส่วนมากสินค้าที่ร้านชำขายกันและมีกฎหมายเฉพาะควบคุม ได้แก่ บุหรี่และสุราที่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายที่ขอจากกรมสรรพสามิต และการขายบุหรี่ต้องไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ส่วนสุราก็มีเวลาและวันที่ห้ามขาย
การขายยาก็ขายได้แค่ยาสามัญประจำบ้าน ยาอื่น ๆ ขายไม่ได้ สินค้าประเภทที่ต้องได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา หรือ อย. เช่น อาหารสำเร็จรูป, เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ก็ต้องได้รับ อย. อย่างถูกต้อง ถ้าไม่มี อย. จะนำมาจำหน่ายไม่ได้
สินค้าที่ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เช่น ปลั๊กพ่วง, เครื่องใช้ไฟฟ้า แบบนี้ก็ต้องได้รับ มอก. หากจะขายไพ่ก็ต้องได้รับใบอนุญาตขายจากกรมสรรพสามิต หรือเครื่องชั่งต่าง ๆ ก็ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีประเด็นเรื่องภาษีด้วย คือ ถ้าหากมีรายได้ปีละ 1,800,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะในนามบุคคลธรรมดา หรือในนามนิติบุคคล ก็จะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าหรือบริการที่จำหน่ายออกจากร้านก็จะต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรทุกเดือนด้วย
___________________________________________
ทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายอาหาร ทำได้ไหม
.
สำหรับกรณีการทำร้านขายของหน้าบ้าน ประเภทร้านขายอาหารจะแตกต่างไปจากการขายของชำตรงที่การร้านขายอาหารจะมีกฎหมายที่ควบคุมตัวร้านโดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ที่กำหนดให้ผู้ที่จะประกอบธุรกิจร้านอาหารต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายอาหาร และสะสมอาหาร ซึ่งต้องขอจากหน่วยงานท้องถิ่น เช่น หากเป็นเขตกรุงเทพมหานครก็ต้องขอกับสำนักงานเขต หรือหากเป็นต่างจังหวัดก็ขอกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่นในพื้นที่
หากในร้านมีการขายสุราให้นั่งดื่มหรือจำหน่ายยาสูบในร้านก็ต้องขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราและยาสูบ และสำหรับร้านที่มีการตั้งหน้าร้านบนทางสาธารณะ ก็ต้องขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องขอต่อหน่วยงานท้องถิ่นเช่นกัน
ส่วนเรื่องภาษี หากการขายอาหารมีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะเดียวกันกับการขายของชำด้วย
___________________________________________
ทำร้านขายของหน้าบ้าน ในหมู่บ้านจัดสรรกับบ้านนอกโครงการจัดสรรต่างกันไหม
.
การขายของชำหรือการขายอาหารในโครงการจัดสรรจะมีข้อแตกต่างกับนอกโครงการบ้างตรงที่ต้องพิจารณาระเบียบหรือข้อบังคับของหมู่บ้านจัดสรรนั้นด้วยว่าอนุญาตให้ทำได้หรือไม่ หากไม่อนุญาตแล้วเราฝืนจะไปทำ ก็อาจถูกมาตรการบังคับจากหมู่บ้านจัดสรร (ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือไม่ก็ตาม)
ยกตัวอย่างเช่น การห้ามลูกค้าเข้ามาในโครงการ, ห้ามลูกค้าจอดรถ, การบังคับล้อ, การออกข้อบังคับเก็บค่าปรับ หรือการไปแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอำนาจควบคุมเข้ามาตรวจสอบใบอนุญาต และสั่งห้ามประกอบกิจการ เป็นต้น
___________________________________________
กรณีทำร้านขายของหน้าบ้านแล้วกระทบสิทธิบ้านข้างเคียง
.
เป็นธรรมดาที่การทำร้านขายของหน้าบ้าน ไม่ว่าจะของชำหรือร้านอาหารอาจจะต้องส่งผลกระทบต่อบ้านข้างเคียง อาจจะเป็นเรื่องกลิ่น, เสียง, ควัน, เศษมูลฝอย หรือน้ำเสีย แม้กระทั่งการที่ลูกค้าจำนวนมากมารบกวนบริเวณหน้าบ้านข้างเคียง หรือการจอดรถ เรื่องนี้ต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
สำหรับเรื่องที่มีกฎหมายที่มีโทษทางอาญาห้าม ได้แก่ เรื่องกลิ่น, เสียง, ควัน, เศษมูลฝอย หรือน้ำเสีย ที่มีพระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ และพระราชบัญญัติความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ กำหนดมาตรการไว้แล้วว่าหากสร้างมลพิษเหล่านี้
หน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ สำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นจะมีอำนาจสั่งให้แก้ไข หรือหยุดการกระทำ และมีอำนาจดำเนินคดีอาญา ที่มีโทษปรับ หรือโทษจำคุก
ในบางกรณี บ้านข้างเคียงที่ได้รับความเดือดร้อนจึงสามารถไปดำเนินการร้องเรียนต่อหน่วยงานดังกล่าวได้ และถึงแม้ร้านนั้น ๆ จะได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องทุกอย่าง แต่หากในภายหลังสร้างมลพิษรบกวนไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้
ส่วนการจอดรถกีดขวางในที่ห้ามจอด ก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบกฯ ซึ่งบ้านข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนต่อตำรวจท้องที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้
ส่วนเรื่องกรณีที่ไม่มีกฎหมายที่มีโทษอาญาบังคับ เช่น การที่มีคนผ่านไปมาหน้าบ้านข้างเคียงจำนวนมาก หรือมีไรเดอร์ หรือผู้ขนส่งมาติดต่อรับของไป ๆ มา ๆ รบกวนทั้งวัน ถึงจะอยู่บนพื้นที่สาธารณะก็ตาม หรือการที่มีรถเข้าออกบริเวณใกล้เคียงทั้งวัน ถึงจะไม่ได้จอดกีดขวางทางสาธารณะก็ตาม
กรณีแบบนี้หากสิ่งรบกวนต่อบ้านข้างเคียงมากจนถึงระดับที่รบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติสุข บ้านข้างเคียงที่ได้รับผลกระทบก็สามารถฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อร้านขายของนั้น ๆ ได้ กรณีแบบนี้จะไม่มีโทษอาญา เพราะคำพิพากษาของศาลในคดีแพ่งเพียงแค่จะบังคับให้ฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
___________________________________________
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก DD Property
บทความที่เกี่ยวข้อง
14 ม.ค. 2025
13 ม.ค. 2025
12 ม.ค. 2025