ป้องกันบ้านทรุด สำรวจที่ดินก่อนตัดสินใจซื้อ
อัพเดทล่าสุด: 27 มี.ค. 2025
46 ผู้เข้าชม
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ปัญหาเรื่องของดินทรุด ก็เป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไป แต่ความรุนแรง หรือระดับการทรุด สำหรับที่ดินของแต่ละคนนั้น ก็ย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างสำหรับที่ดินแต่ละผืนที่ต่างกัน หากเราทราบถึงปัญหา ก็ยังสามารถที่จะมีแนวทางแก้ไขได้อยู่ แต่หากเราไม่ได้ตรวจเช็กที่ดินของเรามาก่อนเลย และทำการสร้างบ้านลงบนที่ดินไปแล้ว เมื่อเกิดปัญหาดินทรุด อาจส่งผลร้ายแรงถึงโครงสร้างของตัวบ้านได้เลย กลายเป็นต้องเสียเงินจำนวนมาก และเสียเวลาในการซ่อมแซมซึ่งเป็นงานใหญ่พอสมควร วันนี้อยากมาแนะนำวิธีตรวจสอบที่ดินของเรา ก่อนที่จะทำการปลูกสร้างบ้าน หรือหากจะซื้อบ้านในโครงการจัดสรร ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประกอบการตัดสินใจได้เลย
___________________________________________
1. สืบประวัติที่ดินของเราเสียก่อน
สืบประวัติในที่นี้ ไม่ใช่เรื่องลี้ลับแต่อย่างใดค่ะ แต่ให้เราทำการตรวจสอบว่า ก่อนที่จะกลายมาเป็นที่กินของเรานี้ ที่ตรงนี้เคยเป็นอะไรมาก่อน หากเป็นนา, แอ่ง, บ่อน้ำ หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ แม้เราจะถมดินให้แน่นอย่างไรก็ตาม ก็มีโอกาสสูงที่ดินจะทรุดตัวได้ หากสามารถเปลี่ยนได้ ก็แนะนำให้หาที่ดินผืนใหม่จะดีกว่า แต่หากที่ดินนี้เป็นมรดกตกทอด หรือไม่สามารถหาที่อื่นได้แล้วจริง ๆ จำเป็นจะต้องก่อสร้างอาคารลงบนพื้นที่แห้งนี้จริง ๆ ก็ให้เตรียมตัวศึกษาแนวทางการป้องกันดินทรุดให้ละเอียดรอบคอบ ในเรื่องของการถมดินให้แน่น ขนาดของเสาเข็ม ความลึกของเสาเข็ม งานโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อที่แม้ดินจะทรุดตัวลงนั้น บ้านของเราก็ยังสามารถตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ไม่เกิดความเสียหายนั่นเอง
___________________________________________
2. ศึกษาที่ดินทรุดโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล
พื้นที่กรุงเทพฯและประมฌฑลเคยเป็นทะเลมาก่อนเมื่อกว่า 10,000 ปีที่แล้ว มีดินเหนียวที่อ่อนและหนาปกคลุม 8-12 เมตร (บางพื้นที่ก็หนามากกว่านั้นมาก) สลับกับชั้นของน้ำบาดาล การใช้น้ำบาดาล, การก่อสร้างตึกสูงต่าง ๆ และแรงสั่นจากการจราจรบนท้องถนนจึงส่งผลให้ดินนั้นทรุดตัวลงทุกปี ชั้นดินเหนียวอ่อนนี้จึงไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มเพื่อถ่ายน้ำหนักอาคารลงไปสู่ชั้นดินด้านล่างที่แข็งแรงกว่า ที่อยู่อาศัยจำพวกบ้านจะวางปลายเสาเข็มไว้ที่ชั้นดินเหนียวแข็งหรือชั้นทรายชั้นแรก แต่ละโซนของกรุงเทพฯ มีที่ดินทรุดตัวมากน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้พื้นที่ทรุดมากที่สุดคือเขตบางกะปิ โดยมีการทรุดตัวสะสมประมาณ 1.20 เมตรเศษ ส่วนที่น้อยสุดคือฝั่งนนทบุรี แม้ว่าที่ดินของเราจะไม่ได้เคยเป็นนา, แอ่ง, บ่อน้ำ หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำมาก่อน แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีสถิติดินทรุดมาก ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
___________________________________________
3. ดินยังไม่เซ็ตตัวให้แน่นก่อนปลูกสร้างอาคาร
การถมดินให้แน่น เป็นการป้องกันปัญหาเรื่องดินทรุดตัว โดยเฉพาะการถมแบบบีบอัด ที่จะยิ่งช่วยป้องกันปัญหาดินทรุดตัวได้เป็นอย่างดี โดยดินแต่ละชั้นจะอยู่ที่ 20-50 เซนติเมตร โดยค่อย ๆ ถมให้แน่นทีละชั้น จะได้พื้นที่ดินที่แน่นสนิท ก่อสร้างบ้านได้ปลอดภัย ไม่ทรุดตัวอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่ว่าถมแน่นเสร็จดีแล้วก่อสร้างบ้านเลย อย่างดีที่สุด ควรถมดินทิ้งไว้ 2-3 ปี สังเกตว่าปริมาณดินไม่เกิดการยุบตัวลง จึงค่อยลงมือสร้างบ้านได้ แต่หากไม่ได้มีเวลารอมากขนาดนั้น หรือต้องการรีบปลูกสร้างจริง ๆ ให้ผ่านฤดูฝนไปก่อนก็ดี
___________________________________________
4. แรงกระทำโดยรอบ
บ้านของเรา หากดันไปสร้างอยู่ติดกับพื้นที่ก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีการตอกเสาเข็มด้วยปั้นจั่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มและการเคลื่อนตัวของดิน จะทำให้ที่ดินบริเวณตัวบ้านของเราเกิดการขยับตัว บัวฝ้าเพดานของเราอาจถึงขั้นหลุดจากแรงสั่นสะเทือน, ตัวบ้านเกิดรอยร้าว ไปจนถึงการทรุดตัวลงของที่ดินได้เลย หรือแม้แต่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่มีการขุดดินขาย หรือขุดสระขนาดใหญ่ พื้นที่ดินบริเวณบ้านของเราก็อาจทรุดตัวลงได้เช่นกัน
___________________________________________
บ้านที่สร้างด้วยเสาเข็มที่แข็งแรง มั่นคง ได้มาตรฐาน ลงลึกถึงชั้นที่เหมาะสม แม้ดินจะทรุด บ้านก็จะยังทรงตัวอยู่ได้อย่างปลอดภัยค่ะ การจะสร้างบ้านนั้น ต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้โดยเด็ดขาด เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมา การแก้ไขนั้นจะทำได้ยากมาก ๆ อีกทั้งยังมีราคาที่แพงมากอีกด้วย หรือแม้แต่การซื้อบ้านจากโครงการบ้านจัดสรร ที่เราไม่สามารถทราบถึงตัวโครงสร้างของบ้านได้ แต่อย่างน้อย ๆ เราก็ยังสามารถสำรวจประวัติของที่ดินบริเวณเหล่านั้นได้ เพื่อพิจารณาความเสี่ยง และหาแนวทางการป้องกันเอาไว้ก่อนที่เกิดปัญหา
___________________________________________
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก HOMEDAY
___________________________________________
1. สืบประวัติที่ดินของเราเสียก่อน
สืบประวัติในที่นี้ ไม่ใช่เรื่องลี้ลับแต่อย่างใดค่ะ แต่ให้เราทำการตรวจสอบว่า ก่อนที่จะกลายมาเป็นที่กินของเรานี้ ที่ตรงนี้เคยเป็นอะไรมาก่อน หากเป็นนา, แอ่ง, บ่อน้ำ หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ แม้เราจะถมดินให้แน่นอย่างไรก็ตาม ก็มีโอกาสสูงที่ดินจะทรุดตัวได้ หากสามารถเปลี่ยนได้ ก็แนะนำให้หาที่ดินผืนใหม่จะดีกว่า แต่หากที่ดินนี้เป็นมรดกตกทอด หรือไม่สามารถหาที่อื่นได้แล้วจริง ๆ จำเป็นจะต้องก่อสร้างอาคารลงบนพื้นที่แห้งนี้จริง ๆ ก็ให้เตรียมตัวศึกษาแนวทางการป้องกันดินทรุดให้ละเอียดรอบคอบ ในเรื่องของการถมดินให้แน่น ขนาดของเสาเข็ม ความลึกของเสาเข็ม งานโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อที่แม้ดินจะทรุดตัวลงนั้น บ้านของเราก็ยังสามารถตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ไม่เกิดความเสียหายนั่นเอง
___________________________________________
2. ศึกษาที่ดินทรุดโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑล
พื้นที่กรุงเทพฯและประมฌฑลเคยเป็นทะเลมาก่อนเมื่อกว่า 10,000 ปีที่แล้ว มีดินเหนียวที่อ่อนและหนาปกคลุม 8-12 เมตร (บางพื้นที่ก็หนามากกว่านั้นมาก) สลับกับชั้นของน้ำบาดาล การใช้น้ำบาดาล, การก่อสร้างตึกสูงต่าง ๆ และแรงสั่นจากการจราจรบนท้องถนนจึงส่งผลให้ดินนั้นทรุดตัวลงทุกปี ชั้นดินเหนียวอ่อนนี้จึงไม่สามารถรับน้ำหนักอาคารได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มเพื่อถ่ายน้ำหนักอาคารลงไปสู่ชั้นดินด้านล่างที่แข็งแรงกว่า ที่อยู่อาศัยจำพวกบ้านจะวางปลายเสาเข็มไว้ที่ชั้นดินเหนียวแข็งหรือชั้นทรายชั้นแรก แต่ละโซนของกรุงเทพฯ มีที่ดินทรุดตัวมากน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้พื้นที่ทรุดมากที่สุดคือเขตบางกะปิ โดยมีการทรุดตัวสะสมประมาณ 1.20 เมตรเศษ ส่วนที่น้อยสุดคือฝั่งนนทบุรี แม้ว่าที่ดินของเราจะไม่ได้เคยเป็นนา, แอ่ง, บ่อน้ำ หรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำมาก่อน แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีสถิติดินทรุดมาก ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
___________________________________________
3. ดินยังไม่เซ็ตตัวให้แน่นก่อนปลูกสร้างอาคาร
การถมดินให้แน่น เป็นการป้องกันปัญหาเรื่องดินทรุดตัว โดยเฉพาะการถมแบบบีบอัด ที่จะยิ่งช่วยป้องกันปัญหาดินทรุดตัวได้เป็นอย่างดี โดยดินแต่ละชั้นจะอยู่ที่ 20-50 เซนติเมตร โดยค่อย ๆ ถมให้แน่นทีละชั้น จะได้พื้นที่ดินที่แน่นสนิท ก่อสร้างบ้านได้ปลอดภัย ไม่ทรุดตัวอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ใช่ว่าถมแน่นเสร็จดีแล้วก่อสร้างบ้านเลย อย่างดีที่สุด ควรถมดินทิ้งไว้ 2-3 ปี สังเกตว่าปริมาณดินไม่เกิดการยุบตัวลง จึงค่อยลงมือสร้างบ้านได้ แต่หากไม่ได้มีเวลารอมากขนาดนั้น หรือต้องการรีบปลูกสร้างจริง ๆ ให้ผ่านฤดูฝนไปก่อนก็ดี
___________________________________________
4. แรงกระทำโดยรอบ
บ้านของเรา หากดันไปสร้างอยู่ติดกับพื้นที่ก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีการตอกเสาเข็มด้วยปั้นจั่น แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มและการเคลื่อนตัวของดิน จะทำให้ที่ดินบริเวณตัวบ้านของเราเกิดการขยับตัว บัวฝ้าเพดานของเราอาจถึงขั้นหลุดจากแรงสั่นสะเทือน, ตัวบ้านเกิดรอยร้าว ไปจนถึงการทรุดตัวลงของที่ดินได้เลย หรือแม้แต่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่มีการขุดดินขาย หรือขุดสระขนาดใหญ่ พื้นที่ดินบริเวณบ้านของเราก็อาจทรุดตัวลงได้เช่นกัน
___________________________________________
บ้านที่สร้างด้วยเสาเข็มที่แข็งแรง มั่นคง ได้มาตรฐาน ลงลึกถึงชั้นที่เหมาะสม แม้ดินจะทรุด บ้านก็จะยังทรงตัวอยู่ได้อย่างปลอดภัยค่ะ การจะสร้างบ้านนั้น ต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้โดยเด็ดขาด เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมา การแก้ไขนั้นจะทำได้ยากมาก ๆ อีกทั้งยังมีราคาที่แพงมากอีกด้วย หรือแม้แต่การซื้อบ้านจากโครงการบ้านจัดสรร ที่เราไม่สามารถทราบถึงตัวโครงสร้างของบ้านได้ แต่อย่างน้อย ๆ เราก็ยังสามารถสำรวจประวัติของที่ดินบริเวณเหล่านั้นได้ เพื่อพิจารณาความเสี่ยง และหาแนวทางการป้องกันเอาไว้ก่อนที่เกิดปัญหา
___________________________________________
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก HOMEDAY
บทความที่เกี่ยวข้อง
3 เม.ย. 2025
2 เม.ย. 2025
1 เม.ย. 2025